CLOSE

ไทยกำลังผลักดัน นิคมอุตสาหกรรมสีเขียว นักลงทุนปรับตัวอย่างไรดี

ภาคอุตสาหกรรมเป็นแหล่งสร้างรายได้และความเจริญที่เป็นประโยชน์ต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศ ดังนั้นเพื่อให้ภาคการผลิตสามารถเดินหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงได้มีการจัดสรร พื้นที่นิคมอุตสาหกรรม หรือสวนอุตสาหกรรม ไว้เพื่อให้โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้เข้าไปตั้งอยู่ โดยมีโครงสร้างพื้นฐานรองรับระบบการผลิตที่ดี พร้อมกับความสามารถพัฒนาด้านการอุตสาหกรรมให้เติบโตอย่างมีศักยภาพ 

แต่การพัฒนาอุตสาหกรรมก็ตามมาด้วยผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่ทำให้ธรรมชาติถูกเปลี่ยนในลักษณะสวนทางกับเส้นทางการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมและ ที่ดินนิคม สถานการณ์เลวร้ายกำลังคืบคลานเข้าสู่โลกของเรา ไม่ว่าจะเป็นภาวะภัยแล้ง ขยะล้นโลก ของเสียจากกระบวนการผลิต ระบบนิเวศถูกทำลาย อย่างไรก็ตาม ภาคอุตสาหกรรมเป็นฟันเฟืองหลักในระบบเศรษฐกิจ การพัฒนาอุตสาหกรรมยังคงต้องดำเนินต่อไป “การปรับตัวคือทางรอด” ประเทศไทยของเราจึงต้องเร่งผลักดันให้เกิดนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวโดยเร็วที่สุด

นิคมอุตสาหกรรมสีเขียว คืออะไร
การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเป็นจัดสรรพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรม และเปิด ขายที่ดินนิคมอุตสาหกรรม ให้กับผู้ประกอบการเข้ามาตั้งโรงงาน หรือเป็นรูปแบบของการให้เช่าโรงงานผลิต โดยในพื้นที่จัดสรรนั้นจะมีการวางระบบสาธารณูปโภคไว้ให้อย่างครบครัน รวมไปถึงสถานที่ในการพักอาศัยและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับบุคลากรที่เข้ามาทำงานในโรงงานต่าง ๆ แม้ว่าจะได้มีการจัดสรรพื้นที่อย่างเป็นสัดเป็นส่วนแล้วก็ตาม นิคมอุตสาหกรรมบางแห่งอาจจะยังไม่ได้วางระบบในเรื่องของการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้กระบวนการผลิตอาจส่งผลให้เกิดปัญหาต่อประเทศไทยดังที่กล่าวไว้ในตอนต้น 

นิคมอุตสาหกรรมสีเขียวเป็นทางออกของปัญหาได้ทางหนึ่ง ดังเช่น สวนอุตสาหกรรม 304 (304 Industial Park) ที่มีทั้งการจัดสรรพื้นที่ และการให้เช่าโรงงานสำเร็จรูป โดยสวนอุตสาหกรรมแห่งนี้เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ตอบรับแนวนโยบายอุตสาหกรรมสีเขียวด้วยการพัฒนาพื้นที่ในเชิงนิเวศให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการกำหนดมาตรฐานการดำเนินงานของโรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่ใน ที่ดินนิคม304 ในด้านต่าง ๆ เพื่อไม่ให้กระทบต่อระบบนิเวศ ยกตัวอย่างเช่น 
  • การบริหารจัดการทรัพยากร มีการหมุนเวียนทรัพยากรเหลือใช้นำมาแปรรูปเป็นวัตถุดิบสำหรับการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ 
  • การใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก เพื่อความมั่นคงของแหล่งพลังงาน
  • พัฒนาระบบจัดการน้ำเพื่อความมั่นคงของแหล่งน้ำธรรมชาติ และความยั่งยืนของระบบน้ำกินน้ำใช้
  • การวางระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีและไม่กระทบต่อชุมชนในบริเวณใกล้เคียง และในกระบวนการผลิตจะต้องลดการปล่อยของเสียให้น้อยที่สุดหรือของเสียเป็นศูนย์ (Zero Waste) สร้างเครือข่ายโรงงานอุตสาหกรรมลดก๊าซเรือนกระจก 
  • การพัฒนาชุมชนผู้อยู่อาศัยภายในนิคมและพื้นที่โดยรอบ สนับสนุนทำการเกษตรกรรมอย่างมั่นคง มีการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ได้เต็มศักยภาพ ดำรงไว้ซึ่งความเป็นแหล่งผลิตอาหารที่ไร้สารพิษ ผลผลิตมีคุณภาพสูง สามารถใช้บริโภคได้อย่างปลอดภัย
เหตุผลที่ต้องผลักดันนิคมอุตสาหกรรมสีเขียว
เมื่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเริ่มไม่น่าอยู่ ที่ดินนิคมอุตสาหกรรม บางแห่งที่เคยรองรับการอยู่อาศัยของคนทำงานในโรงงานกลับกลายเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพเพราะปัญหามลพิษทางอากาศ คุณภาพของแหล่งน้ำที่แย่ลง ส่วนหนึ่งเกิดจากการปนเปื้อนของสารเคมีจากโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป มลพิษต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมที่โลกของเราต้องเผชิญและเริ่มรุนแรงขึ้น 

ดังนั้น ประเทศไทยและทั่วโลกจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมสีเขียวเพื่อลดความเสี่ยงในการได้รับผลกระทบจากมลพิษให้น้อยที่สุดหรือไม่ได้ผลกระทบเลย โดยทางกระทรวงอุตสาหกรรมมีนโยบายส่งเสริมแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียว มุ่งเน้นการจัดระบบโครงสร้างภายในพื้นที่นิคมให้มีความปลอดภัยต่อคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน และความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดผลกระทบที่จะสร้างมลพิษในทุก ๆ ด้าน ขณะเดียวกันยังคงมุ่งให้มีการเพิ่มผลผลิตอย่างเต็มประสิทธิภาพและพัฒนาศักยภาพในเชิงธุรกิจเพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมของไทยสามารถแข่งขันในระดับโลกได้ 

แนวทางการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรม
สำหรับนโยบายส่งเสริมการสร้างสรรค์ พื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ในเชิงนิเวศนี้ จะเป็นจุดเชื่อมต่ออุตสาหกรรมไทยให้เข้าสู่ยุคของอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งเป็นยุคของการปฏิวัติระบบอุตสาหกรรมใหม่ แนวทางก็คือ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทั้งหลายจะต้องสามารถเพิ่มผลผลิตของตนเอง พัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ให้มากขึ้นเพื่อร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโต โดยในกระบวนการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งนี้จะมีหัวใจหลักในการตระหนักรู้และแก้ปัญหาเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาเป็นอย่างดี ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมจึงต้องปรับตัวโดยการ
  • ช่วยรักษาฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้กลับสู่สมดุล จัดทำแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ทรัพยากร
  • เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรต่าง ๆ มุ่งเน้นความมั่นคงของแหล่งทรัพยากรเพื่อให้นำมาใช้ในระบบการผลิตได้อย่างยั่งยืน
  • วางระบบการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น มีการกำจัดของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ ลดปริมาณขยะจากการผลิต
  • ให้ความร่วมมือในด้านสิ่งแวดล้อมกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
การดำเนินงานตามแนวทางอุตสาหกรรมสีเขียว
เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องร่วมมือกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทั้งของธุรกิจเองและเป้าหมายในระดับประเทศ นิคมอุตสาหกรรม 304 มีความตระหนักในเรื่องนี้และให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาระบบนิเวศ ใส่ใจในปัญหาสิ่งแวดล้อม และดำเนินงานในรูปแบบของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ส่งเสริมในเรื่องของการใช้พลังงานสะอาด อีกทั้งมีการสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับโรงงานที่อยู่ในนิคม รวมถึงมีการวางระบบการจัดการขยะจากการผลิตอย่างได้มาตรฐาน พร้อม ขายที่ดินนิคม304 ให้กับผู้ประกอบการที่ต้องการเดินหน้าในเส้นทาง Green ไปกับเรา เพื่อไปสู่เป้าหมายเดียวกันในการพัฒนาอุตสาหกรรมไปพร้อม ๆ กับดำรงความสมดุลของสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่อย่างยั่งยืน

ที่มาข้อมูล : 
  • https://bangpleestationery.com/ผู้ประกอบการต้องอ่าน-กับ-5-step-ที่จะทำให้องค์กรของคุณกลายเป็น-green-industry/
  • https://www.bangkokbiznews.com/environment/1126956#google_vignette
  • https://eco.ieat.go.th/th/development-policy
  • https://www.industry.go.th/th/km/3370#:~:text=อุตสาหกรรม%204.0%20คือ%20การนำเทคโนโลยี,ได้เป็นจำนวนมากใน