CLOSE

BCG โมเดลตอบโจทย์การพัฒนาพื้นที่สวนอุตสาหกรรมแบบยั่งยืน

การพัฒนาทางเศรษฐกิจและโครงสร้างอุตสาหกรรมในยุคก่อน ๆ นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงสองด้าน ด้านหนึ่งคือความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ แต่อีกด้านหนึ่งคือความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม และปัญหาคุณภาพชีวิตของชุมชน ถ้าการบริหารจัดการไม่ดี ซึ่ง

ที่ผ่านมาพบว่ามีปัญหาเรื่องมลพิษใน พื้นที่นิคมอุตสาหกรรม หลายแห่ง จากกระบวนการผลิตที่กระทบต่อแม่น้ำลำคลอง พื้นที่อยู่อาศัยของประชาชนที่อยู่รายรอบนิคม รวมไปถึงปัญหาขยะจากกระบวนการผลิตสินค้าทั้งหลาย 

เมื่อถึงเวลาที่โลกของเราจำเป็นต้องได้รับการปรับเปลี่ยนเพื่อลดกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคนในชุมชน รัฐบาลไทยก็ได้มีนโยบายในการนำโมเดลที่เรียกกันว่า BCG Economy มาใช้ในมิติทางเศรษฐกิจโดยประกาศให้ BCG เป็นวาระแห่งชาติ และวางแผนกลยุทธ์ 5 ปีในการขับเคลื่อนโมเดลนี้ รวมถึงการนำโมเดลไปเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นการสร้างโรงงานให้เช่า หรือพัฒนา ที่ดินนิคม เพื่อขายให้กับนักลงทุนที่ต้องการเข้ามาจัดตั้งโรงงานในไทย 

BCG คืออะไร
BCG เป็นแนวคิดที่มาจากคำ 3 คำคือ B-Bio, C-Circular และ G-Green แนวคิดนี้ได้ถูกนำมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม
  • Bio คือกระบวนการผลิตที่ใช้วัตถุดิบธรรมชาติ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • Circular คือมีการหมุนเวียน จากกระบวนการผลิตสู่การใช้สินค้าของผู้บริโภคแล้ววนกลับเข้ามายังกระบวนการแปรสภาพเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
  • Green คือการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งทรัพยากรให้มีความยั่งยืน
ทั้ง 3 คำนี้จะช่วยให้การพัฒนาเศรษฐกิจสามารถก้าวไปพร้อม ๆ กับการดำรงรักษาสมดุลของธรรมชาติ และหากนำมาปรับใช้ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตก็จะช่วยเพิ่มศักยภาพของการบริหารจัดการ พื้นที่นิคมอุตสาหกรรม การสร้างโรงงานต่าง ๆ บนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสังคมได้ดียิ่งขึ้น

องค์ประกอบสำคัญของ BCG ที่สามารถเชื่อมโยงกับการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม
กระทรวงอุตสาหกรรมได้ตอบรับกลยุทธ์ดังกล่าว เดินหน้าการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมของประเทศ ตั้งเป้าที่จะให้โรงงานทุกแห่งในไทยเป็น Green Industry ภายในปี 2568 ตามแผนพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียว ขณะที่การนิคมอุตสาหกรรม (กนอ.) ในฐานะผู้กำกับดูแลนิคมอุตสาหกรรมทุกแห่ง ก็ได้กำชับถึงดำเนินงานของแต่ละนิคมให้สอดคล้องไปกับกลยุทธ์ดังกล่าว เป็นการเชื่อมโยงแนวคิด BCG เข้ากับการพัฒนา ที่ดินนิคม เพื่อดำรงไว้ซึ่งสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุดโดยไม่คำนึงถึงผลกำไรทางธุรกิจเพียงอย่างเดียว  ไม่ว่าจะเป็นการสร้างโรงงานผลิตบนพื้นที่นิคมเพื่อเปิดให้นักลงทุนเอกชน หรือนักลงทุนต่างชาติเข้ามาเช่า หรือการพัฒนาพื้นที่ให้นักลงทุนเข้ามาซื้อไปประกอบกิจการ สิ่งที่ภาคอุตสาหกรรมจะต้องโฟกัสก็คือ
  • การนำเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่เข้ามาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างคุ้มค่า 
  • การหมุนเวียนทรัพยากรและการทดแทนทรัพยากรอย่างสมดุล
  • การวางระบบกำจัดของเสียเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนรอบพื้นที่
  • การส่งเสริมด้านแรงงานในท้องถิ่น เพื่อเป็นการช่วยเหลือชุมชน
  • การส่งมอบผลิตผลถึงมือผู้บริโภคด้วยรูปแบบที่เอื้อต่อการใช้งานและการกำจัดเศษสิ่งเหลือใช้โดยไม่ให้เกิดปัญหาขยะในชุมชนโดยรวม
จากหลักการ BCG สู่การพัฒนาพื้นที่สวนอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติที่สนใจเข้ามาซื้อหรือเช่าโรงงานใน ที่ดินนิคมอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่เน้นเลือกโครงการที่มีแนวทางในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ในส่วนของกลุ่มสวนอุตสาหกรรมและโรงงานต่าง ๆ ที่อยู่นอกเขตนิคมอุตสาหกรรมนั้น ทางกรมโรงงานอุตสาหกรรมในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลกลุ่มนี้ก็ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาพื้นที่ภายใต้คอนเซปต์ Eco Industry ซึ่งมีความสอดคล้องกับแนวคิด BCG ซึ่งนอกจากจะช่วยให้การขยายตัวของสวนอุตสาหกรรมไม่สวนทางกับการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในสวนอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น 

การพัฒนาสวนอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนตามโมเดล BCG
ทั้งแนวคิด Eco Industry หรืออุตสาหกรรมเชิงนิเวศและ BCG Model จะช่วยขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมของประเทศสู่ความยั่งยืนในอนาคต เพราะมีศักยภาพในการแข่งขันสูงขึ้น การพัฒนาพื้นที่และการ ขายที่ดินนิคมอุตสาหกรรม ที่มีศักยภาพจะช่วยสร้างผลลัพธ์ที่ดีให้กับประเทศในระยะยาว และตอบโจทย์ในการสร้างเป้าหมายความยั่งยืนของเศรษฐกิจไทย 

สวนอุตสาหกรรม 304 เป็นหนึ่งในพื้นที่อุตสาหกรรมที่มีความพร้อมในด้านระบบนิเวศบนพื้นที่นับหมื่นไร่ เน้นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างมีคุณค่าและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก มีระบบจัดการสิ่งแวดล้อมที่เป็นมาตรฐาน ทุกกระบวนการเอื้อประโยชน์ต่อการผลิตสินค้า การบริโภคและการดูแลชุมชน เหตุผลที่นักลงทุนมอง ที่ดินนิคม304  เป็นพื้นที่น่าลงทุนก็คือ
  • โครงสร้างพื้นฐานที่รองรับอุตสาหกรรมการผลิตอย่างครบถ้วน
  • โรงงานให้เช่าสำเร็จรูป สามารถเข้าใช้งานและปรับขยายขนาดของโรงงานตามธุรกิจของผู้ประกอบการได้ง่าย ไม่ต้องลงเงินทุนก่อสร้างอาคารใหม่
  • มีความพร้อมในบริการแบบ One Stop Service ที่ทำให้ลูกค้าได้รับการอำนวยความสะดวกแบบครบวงจร
  • มีการวางระบบ Eco Industry และรักษามาตรฐานด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดี
  • โลเคชั่นเหมาะกับการเป็นศูนย์กลางการผลิตเพราะสามารถเชื่อมต่อกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค
  • มีความพร้อมด้านแรงงานชุมชนที่เอื้อต่อการประกอบกิจการของนักลงทุน

การพัฒนา นิคมอุตสาหกรรม 304 มีความสอดคล้องกับมาตรการของรัฐและพร้อมที่จะเดินหน้าต่อในการรองรับนักลงทุนกลุ่มใหม่ กลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็น New Engine of Growth เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ พร้อมเชื่อมโยงคุณค่าของระบบนิเวศกับเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศในอนาคต หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการ และข้อมูลการ ขายที่ดินนิคม304 สามารถติดต่อสำนักงานใหญ่ (ปราจีนบุรี), สวนอุตสาหกรรม 304 ฉะเชิงเทรา หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ https://www.304industrialpark.com/ 

ที่มาข้อมูล
  • https://www.bcg.in.th/data-center/articles/bcg-by-nstda/
  • https://www.bangkokbiznews.com/business/980546
  • https://www.ohswa.or.th/17655657/การพัฒนาที่ยั่งยืน-สิ่งที่-จป-ควรรู้-ep3