เอลนีโญ่และลานีญ่า (El Niño-La Niña) เป็นปรากฏการณ์สองภาวะทางภูมิอากาศที่มีความสัมพันธ์กันที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งมีผลกระทบต่อภูมิอากาศของโลกทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยปรากฏการณ์เอลนีโญ่เป็นภาวะที่มีการเพิ่มความร้อนในพื้นผิวน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิก ส่งผลให้กระแสน้ำและลมเปลี่ยนทิศทางไปยังทวีปอเมริกาใต้แทน ด้วยปรากฏการณ์ดังกล่าวจึงทำให้เกิดภัยแล้งในฝั่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลีย ในขณะที่ลานีญ่าเป็นภาวะที่มีการเย็นลงในพื้นผิวน้ำมหาสมุทรแปซิฟิกอย่างรวดเร็ว ทำให้กระแสลมและน้ำเปลี่ยนทิศทางมายังฝั่งตะวันออก จึงทำให้เกิดฝนตกอย่างหนักจนนำไปสู่ปัญหาอุทกภัยและน้ำท่วมในหลายพื้นที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลีย การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีผลกระทบต่อภูมิอากาศทั้งในทางภูมิศาสตร์และการเคลื่อนไหวของลมและกระแสน้ำทั่วโลก จึงส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรม ระบบเศรษฐกิจและการลงทุนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ เอลนีโญ่คือภัยแล้ง ในขณะที่ลานีญ่าคือภัยน้ำท่วม
ปี 2023 เป็นต้นไป ประเทศไทยจะได้รับอิทธิพลจากปรากฏการณ์เอลนีโญ่
องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก หรือ WMO ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศในช่วงที่ผ่านมาและมีการคาดการณ์เอาไว้ว่านับตั้งแต่ปี 2023 เป็นต้นไปประเทศที่อยู่ในแถบมหาสมุทรแปซิฟิก ด้วยการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก จึงทำให้ในช่วงเวลานับจากนี้ไปอย่างน้อย 2-3 ปี ข้างหน้าจะเกิดเหตุการณ์ฝนทิ้งช่วง ฝนฟ้าไม่ตกตามฤดูกาลและที่สำคัญความร้อนและสภาพความแห้งแล้งจะมีความรุนแรงมากขึ้นกว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
เป็นที่แน่นอนว่าปรากฏการณ์ของเอลนีโญ่และลานีญ่าส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในหลายภาคส่วนทั้งภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตอาหารเนื่องจากฝนที่ทิ้งช่วงทำให้พืชผลเกษตรตกต่ำ เว้นเสียแต่พื้นที่ สวนอุตสาหกรรม ที่อยู่ใกล้แหล่งผลิตขนาดใหญ่ เช่น พื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา สระแก้ว ปราจีนบุรี นครราชสีมาหรือจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว กัมพูชาและเมียนมา เพื่อที่จะได้นำเข้าสินค้าเกษตรกรรมจากประเทศเพื่อนบ้านราคาถูกเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตต่อไปได้
อย่างไรก็ตาม เอลนีโญ่และลานีญ่าไม่เพียงแต่สร้างผลกระทบให้แก่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเท่านั้นแต่ยังสร้างโอกาสในการลงทุนอีกหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสภาวะภูมิอากาศไม่แน่นอน ซึ่งสร้างโอกาสสำหรับการลงทุนวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับการป้องกันและบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ เอลนีโญ่ยังสร้างโอกาสในการลงทุนในอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนและเทคโนโลยีสะอาด อย่างอุตสาหกรรมผลิตแผงโซล่าร์เซลล์ โรงงานไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โดยเฉพาะในพื้นที่ นิคมอุตสาหกรรม ที่กำลังปรับตัวในเรื่องของการใช้พลังงานสะอาดที่มาจากพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น อันเนื่องมาจากความร่วมมือจากสหรัฐอเมริกาที่ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ตัดสินใจเข้าร่วมสนธิสัญญาปารีส หรือ Paris Agreement เพื่อบริหารจัดการกับปัญหาแก๊สเรือนกระจกและมุ่งมั่นที่จะลดอุณหภูมิโลกลงเฉลี่ย 2 องศาเซลเซียส เพื่อลดความรุนแรงของปรากฏการณ์ธรรมชาติที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ ทำให้มีการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้น
ปัจจุบัน สวนอุตสาหกรรม 304 เป็นหนึ่งในพื้นที่สำคัญของภาคการผลิตอุตสาหกรรมและอยู่ใกล้พื้นที่เพาะปลูกขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นข้าว มันสำปะหลัง อ้อยหรือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งต่างเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ด้วยทำเลที่ตั้งของสวนอุตสาหกรรม 304 ที่อยู่ในพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลและมีการบริหารจัดการน้ำที่ดี จึงไม่เคยประสบปัญหาภัยน้ำท่วม ภายในยังมีแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถส่งมอบน้ำให้กับสมาชิกใน สวนอุตสาหกรรม ในช่วงวิกฤตขาดแคลนน้ำได้ นอกจากนี้ นิคมอุตสาหกรรม แห่งนี้ยังมีเส้นทางคมนาคมที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย
ที่มาข้อมูล