CLOSE

ส่องอุตสาหกรรม PCB ประเทศไทย หลังอุตสาหกรรมรถไฟฟ้าได้รับการตอบรับในประเทศไทย

S Curve แนวคิดทางคณิตศาสตร์ที่ถูกนำมาใช้ในทางธุรกิจ มีความหมายถึงวงจรการเติบโตของธุรกิจในลักษณะของเส้นโค้งรูปตัว S ด้วยแนวคิดนี้ กลุ่มธุรกิจและอุตสาหกรรมหลาย กลุ่มจึงต้องมองหาวิถีการลงทุนใหม่ ๆ ตลอดเวลา ควบคู่ไปกับการเฟ้นหาทำเลการลงทุนที่มีศักยภาพภายใน พื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ต่าง ๆ เพราะเมื่อใดที่วงจรธุรกิจเดินทางมาถึงส่วนปลายของตัว S ทุกอย่างจะเริ่มถดถอยลง และต้องเริ่มวงจรใหม่เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้เดินต่อได้ 

S-Curve ธุรกิจแห่งอนาคต เตรียมปักหมุด ที่ดินนิคม ในไทย
ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โลกของเราต้องตกอยู่ในภาวะวิกฤตไวรัสโควิด-19 ระบาดอย่างหนัก ทำให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างได้รับผลกระทบกันเป็นจำนวนมาก แต่หลังจากที่สถานการณ์เริ่มคลี่คลาย แม้ว่าเศรษฐกิจโดยรวมจะยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ แต่ก็เริ่มมีนักลงทุนเตรียมเม็ดเงินและเล็งหาฐานสำคัญ ที่ดินนิคมอุตสาหกรรม เริ่มเป็นที่หมายตาของนักลงทุนที่วางแผนจะปักหมุดใหม่อีกครั้ง ปี 2565 ที่ผ่านมา เริ่มมีการขยับตัวของอุตสาหกรรมหลายประเภทที่ดูเหมือนว่าจะสอดคล้องต้องกันกับนโยบายส่งเสริมการลงทุนของภาครัฐ อุตสาหกรรมที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจก็คือ กลุ่ม S-Curve 

ในประเทศไทย กลุ่มธุรกิจ S-Curve แบ่งเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน กลุ่มแรกเราเรียกว่า First S-Curve ซึ่งมีอยู่ 5 ประเภทคือ 1 อุตสาหกรรมสมาร์ทอิเล็กทรอนิกส์ 2 อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ 3 อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ 4 อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร และ 5 อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวรายได้ดีและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ กลุ่มเหล่านี้ได้เข้ามาลงทุนใน พื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ที่สำคัญ ๆ ของไทยและขยายธุรกิจเติบโตขึ้นตามระยะบน S-Curve แต่เมื่อเวลาผ่านไป การขยายตัวที่แผ่วลงในช่วงปลายทำให้ต้องมีการพัฒนาธุรกิจใหม่ขึ้นมาแทน บางกลุ่มก็ทำได้ ขณะที่บางกลุ่มก็ปล่อยให้หยุดนิ่งไป กลุ่มที่มีการพัฒนาวงจรขึ้นใหม่เรียกว่ากลุ่ม New S-Curve ซึ่งเป็นธุรกิจแห่งอนาคตที่ลงหลักปักฐานรอการเติบโตในระยะต่อไปโดยมีปัจจัยหนุนที่สำคัญคือ ผู้บริโภคซึ่งมีความต้องการใช้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยมากขึ้น โดยกลุ่มธุรกิจแห่งอนาคตที่กำลังมาแรงก็คืออุตสาหกรรมที่เน้นนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ซึ่งมีอยู่ 5 ประเภทได้แก่ 1 อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 2 อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ 3 อุตสาหกรรมดิจิทัล 4 อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ 5 อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร

First S-Curve ได้เริ่มเข้าไปลงทุนในกิจการใหม่ที่เชี่ยวชาญในธุรกิจ 5 ประเภทนี้ และมีความโดดเด่นด้านเทคโนโลยี เป็นที่น่าจับตามองว่า New S-Curve เหล่านี้จะเป็นตัวขับเคลื่อนใหม่ให้เศรษฐกิจไทยก้าวหน้าในระยะยาวได้มากแค่ไหน แต่อย่างน้อยที่สุด สิ่งที่เริ่มเห็นได้ก็คือเม็ดเงินลงทุนที่เข้ามาเพิ่มใน ที่ดินนิคม พร้อมกับการจ้างแรงงานในภาคอุตสาหกรรมที่มีมากขึ้น

ที่ดินนิคม แบบไหน รองรับการลงทุนกลุ่ม S-Curve
จากประเด็นของ S-Curve ที่มาแรง ได้นำไปสู่โอกาสทางธุรกิจของ ที่ดินนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งมีทีท่าว่าจะขยับขยายการเติบโตขึ้นตามการลงทุนใหม่ของธุรกิจแห่งอนาคต โดยในปี 2566 นี้ นิคมอุตสาหกรรมมีแนวโน้มการเข้ามาลงทุนเพิ่มของอุตสาหกรรมใหม่ ๆ จำนวนมาก อย่างไรก็ตาม การพัฒนาพื้นที่ของนิคมอุตสาหกรรมก็ต้องตอบโจทย์ผู้ลงทุนด้วย ในเมื่อธุรกิจใหม่ที่เข้ามาลงทุนมีความโดดเด่นในด้านของนวัตกรรม ความไฮเทค รูปแบบของนิคมก็น่าจะปรับไปในทิศทางเดียวกัน ดังเช่นพื้นที่ภายใน สวนอุตสาหกรรม 304 ที่มีการนำเทคโนโลยีการผลิต และระบบโลจิสติกส์ที่ทันสมัย มีการวางโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคที่พร้อมสนับสนุนนักลงทุน

รูปแบบการพัฒนาพื้นที่ของ นิคมอุตสาหกรรม 304 ที่ได้หยิบยกมาเป็นตัวอย่างนี้ นอกจากจะมุ่งเน้นให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของนักลงทุนกลุ่ม New S-Curve แล้ว หากมองในแง่ศักยภาพของทำเล จะเห็นได้ว่า นิคมแห่งนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ใกล้กับแหล่งผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงได้ง่ายกับอุตสาหกรรมในกลุ่ม New S-Curve นอกจากนี้ ยังเป็นนิคมที่อยู่ในจุดศูนย์กลางการคมนาคมทั้ง ที่ดินนิคม 304 ในจังหวัดปราจีนบุรี และที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ทั้งสองแห่งอยู่ใกล้กับกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเมืองหลวงและศูนย์กลางธุรกิจของประเทศ ที่สำคัญก็คือ เป็นพื้นที่ที่อยู่ในแนวระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ หรือ Southern Economic Corridor (SEC) ซึ่งสามารถเชื่อมต่อการทำธุรกิจจากประเทศไทยไปยังกัมพูชา และเวียดนามได้โดยง่าย เป็นปัจจัยหนุนในการขยายธุรกิจไปสู่ภูมิภาคอินโดจีนได้อีกทางหนึ่ง ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากว่าการประกาศ ขายที่ดินนิคม304 จะได้รับความสนใจจากนักลงทุนในช่วงเวลานี้

แนวคิดการพัฒนา ที่ดินนิคมอุตสาหกรรม ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
แม้ว่า New S-Curve จะมุ่งเน้นการลงทุนไปในด้านนวัตกรรม ความล้ำยุคทางเทคโนโลยี แต่การทำธุรกิจที่ยั่งยืน ก็ยังคงต้องยึดหลักในการดำเนินงานเพื่อสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วยเสมอ เพราะอุตสาหกรรมบางประเภท ยิ่งทันสมัยก็ยิ่งมีโอกาสที่จะสร้างผลกระทบต่อสมดุลธรรมชาติได้มาก ดังนั้น สวนอุตสาหกรรม 304 จึงมีการออกแบบพื้นที่ให้มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมภายใต้แนวคิด Eco Industrial Town ดำเนินงานภายใต้มาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 และพยายามรณรงค์ให้นักลงทุนที่เข้ามาลงหลักปักฐานได้ตระหนักในการดูแลรับผิดชอบสิ่งแวดล้อมและชุมชนร่วมกัน

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปในทุกวันนี้ การทำธุรกิจไม่ควรหยุดอยู่กับที่ และหากว่าผู้ประกอบการใดกำลังมองหาพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง หรือพบว่าพื้นที่ใด ขายที่ดินนิคมอุตสาหกรรม ทำเลดี อย่าลังเลที่จะศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และก้าวออกไปสู่วิถีใหม่ของ New S-Curve ที่ประสบความสำเร็จในอนาคต

ที่มาข้อมูล