CLOSE

ฝ่าวิกฤตเงินเฟ้อ หายนะทางการเงินรอบใหม่จริงหรือ?

ภายหลังจากราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นสูง ซึ่งเป็นผลมาจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้เงินเฟ้อภายในประเทศปรับตัวสูงขึ้นติดต่อกัน จนกระทั่งล่าสุดอัตราเงินเฟ้อของไทยเดือนพฤษภาคม 2565 อยู่ที่ 7.1% สูงที่สุดในรอบ 14 ปี  ทำให้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. เสียงแตกจากการประชุมครั้งล่าสุด ที่ให้คงอัตราดอกเบี้ยเท่าเดิมไปก่อนด้วยคะแนน 4:3 ในมุมมองนักวิเคราะห์คาดการณ์เป็นการส่งสัญญาณเตือนให้ระวัง เพราะรอบหน้าอาจจะต้องปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น ในขณะที่ค่าเงินบาท ณ วันที่ 22 มิถุนายน 2565 ปรับตัวอ่อนลงไปแตะที่ระดับ 35.29 บาท / ดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นการอ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 5 ปี แต่ถึงกระนั้นก็เป็นผลดีต่อภาคการส่งออกและภาคการท่องเที่ยวที่กำลังจะมีการปลดล็อกเรื่องโควิดและเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงนักลงทุนที่ต้องการเข้ามาลงทุนภายในประเทศ ด้วยอัตราแลกเปลี่ยนที่สามารถแลกเงินบาทไทยได้มาก 

วิกฤตเงินเฟ้อรอบนี้จะเหมือนต้มยำกุ้งหรือไม่
หากย้อนกลับไปเมื่อปี 2540 ในขณะนั้นประเทศไทยไม่สามารถที่จะนำนโยบายไปปฏิบัติ 3 ด้านได้พร้อมกัน นั่นคือ
  • การเปิดเสรีการเงิน แต่ไม่ได้มีการควบคุมเงินเข้า-เงินออก
  • การใช้ดอกเบี้ยนโยบายในการควบคุมเงินเฟ้อ แม้ว่าเศรษฐกิจจะดูดีแต่ไส้ในกับไม่เป็นอย่างที่คิด
  • การใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนคงที่
ซึ่งในปัจจุบันแตกต่างจากในอดีตมากหลังจากที่ได้รับบทเรียน มีการควบคุมเงินไหลเข้าไหลออกและปัญหาเศรษฐกิจเกิดจากการชะลอตัวหลังจากทั่วโลกได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด ซึ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ธนาคารกลางของแต่ละประเทศต่างอัดฉีดเงินจำนวนมากเข้าสู่ระบบเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ในขณะที่แต่ละประเทศเลือกที่จะล็อกดาวน์ ทำให้ภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกซึ่งเป็นเครื่องจักรผลิตเงินของไทยต้องหยุดชะงัก โรงงานใน นิคมอุตสาหกรรม หลายแห่งมีการเลิกจ้างพนักงาน ทำให้หลายครัวเรือนขาดรายได้ ส่งผลให้เกิดหนี้ครัวเรือนจำนวนมาก ปัญหาที่ซุกซ่อนไว้โดนเปิดออก ในขณะที่ล่าสุดเกิดสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ยิ่งทำให้กระทบต่อต้นทุนการผลิตสูงมากยิ่งขึ้น สินค้าบางอย่างขาดแคลน 

ในวิกฤตจึงมีโอกาส หากประเทศไทยดำเนินการเปิดประเทศและผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ เกี่ยวกับโควิด-19 ก็จะช่วยให้เศรษฐกิจสามารถที่จะขับเคลื่อนต่อไปได้ เพราะอย่าลืมว่าแม้ในช่วงที่เกิดวิกฤตดังกล่าวจะทำให้คนไทยหลายคนตกงาน แต่ก็มีอีกหลายคนที่สามารถปรับตัวและสร้างโอกาสให้กับตนเองและสร้างธุรกิจ สร้างรายได้ในช่วงนี้ขึ้นมาได้ ประกอบกับหลายประเทศเริ่มกักตุนสินค้าทางการเกษตรเพราะมองว่าสงครามรอบนี้น่าจะยืดเยื้อ จึงทำให้ราคาสินค้าภาคการเกษตรประตัวสูงขึ้น แม้ราคาปุ๋ยจะปรับตัวสูงขึ้นก็ตาม ซึ่งความต้องการสินค้าภาคการเกษตรส่งผลดีโดยตรงต่อประเทศไทย เพราะสามารถนำไปแปรรูปได้ทั้งรูปแบบอาหารและพลังงานซึ่งในขณะนี้กำลังขาดแคลน หรือมีราคาสูงขึ้น ในขณะที่ภาคการผลิตเริ่มกลับมามีออเดอร์ นิคมอุตสาหกรรม หลายแห่งเริ่มเปิดรับคนงานมากขึ้น 

สำหรับนักลงทุนที่มองเห็นโอกาสในวิกฤตและต้องการลงทุนในสวนอุตสาหกรรมที่เพียบพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งสาธารณูปโภค โครงสร้างพื้นฐานและตลาดแรงงาน สวนอุตสาหกรรม 304 หนึ่งในพื้นที่อุตสาหกรรมที่ได้รับการพัฒนาและรองรับการลงทุนได้ทุกอุตสาหกรรม มีพื้นที่ให้เช่า, โรงงานสำเร็จรูป ให้เลือกลงทุนทั้งจังหวัดปราจีนบุรีและฉะเชิงเทรา พร้อมรับสิทธิประโยชน์จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศไทย (BOI) พร้อมให้ความช่วยเหลือทางด้านธุรกิจด้วยบริการแบบ One-Stop Service ที่มอบความสะดวกสบายสูงสุดให้แก่นักลงทุนทุกท่าน

ที่มาของข้อมูล