CLOSE

เผยที่มาอุตสาหกรรมต้นน้ำแร่ที่ใช้ผลิตแบตเตอรี่ EV ที่มิใช่มีแค่ลิเทียม

ในปัจจุบัน ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในประเทศไทย เนื่องจากเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางมากกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมัน แต่เบื้องหลังความสะดวกสบายเหล่านี้คืออุตสาหกรรมต้นน้ำที่ซับซ้อน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสกัดแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับการผลิตแบตเตอรี่ EV ใน นิคมอุตสาหกรรม

แร่ธาตุหลักในการผลิตแบตเตอรี่ EV
  • ลิเทียม (Lithium) แร่ธาตุที่ใช้เป็นขั้วแคโทดในแบตเตอรี่ EV โดยมีคุณสมบัติในการเก็บประจุไฟฟ้าได้ดีเยี่ยม
  • นิกเกิล (Nickel) ใช้เป็นขั้วแคโทดในแบตเตอรี่ EV ร่วมกับโคบอลต์และแมงกานีส ช่วยเพิ่มความจุและประสิทธิภาพของแบตเตอรี่
  • โคบอลต์ (Cobalt) ใช้ร่วมกับนิกเกิลในอิเล็กโทรดบวก ช่วยเพิ่มความเสถียรและยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่
  • แมงกานีส (Manganese) ใช้ร่วมกับนิกเกิลและโคบอลต์ในอิเล็กโทรดบวก ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มความปลอดภัยของแบตเตอรี่
  • กราไฟต์ (Graphite) ใช้เป็นขั้วแอโนดในแบตเตอรี่ EV บางประเภท มีคุณสมบัติในการนำไฟฟ้าได้ดีเยี่ยม
ในปัจจุบันยังค้นพบว่าประเทศไทยมีแหล่งแร่โพแทสเซียมที่กำลังถูกเร่งวิจัยและพัฒนาเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมแบตเตอรี่

การค้นพบเหมืองแร่โพแทชในประเทศไทย
ตามข้อมูลของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการค้นพบเหมืองแร่ ยืนยันแล้วว่าในภาคอีสานมีแร่โพแทชที่สามารถนำออกไซด์โซเดียมออกมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้า ซึ่งมีปริมาณมากถึง 18 ล้านล้านตัน เรียกได้ว่า สวนอุตสาหกรรม ใกล้เคียงพื้นที่ในจังหวัดภาคอีสานมีปริมาณแร่โพแทชอยู่มาก สามารถใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตได้เป็นอีก 100 ปีไม่มีวันหมด นอกจากนี้ ดร.นงลักษณ์ พบว่าต้นทุนในการทำแบตเตอรี่ระหว่างแบตเตอรี่ลิเทียมและแบตเตอรี่โซเดียมไอออน อย่างหลังมีต้นทุนต่ำกว่าครึ่งต่อครึ่ง ซึ่งในต่างประเทศค่ายรถไฟฟ้าจีนอย่างมี BYD เริ่มมีการทดลองทำแบตเตอรี่โซเดียมไอออนออกมาแล้ว แต่ใน นิคมอุตสาหกรรม เมืองไทยยังไม่มีใครลงทุนผลิตแบตจากโซเดียมที่ได้จากแร่โพแทชนี้ 

กพร. เปิดตัวแบตเตอรี่โพแทช ไอออน ต้นแบบแบตเตอรี่ EV
การผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ EV นอกเหนือจากการใช้ลิเทียมเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตแบตเตอรี่แล้วตอนนี้ยังมีการพัฒนาผลิตแบตเตอรี่โซเดียมไอออนซึ่งนับว่าเป็นข่าวดีที่คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นกำลังวิจัยและพัฒนาแบตเตอรี่ชนิดนี้อยู่ โดยรองศาสตราจารย์ดร.นงลักษณ์ มีทอง หัวหน้าคณะวิจัยบอกว่า ตอนนี้แบตเตอรี่โซเดียมไอออนต้นแบบเสร็จแล้วกำลังรอนักลงทุนเข้ามาผลิต โดยแบตเตอรี่ต้นแบบใช้วัตถุดิบโซเดียมจากเหมืองแร่โพแทชที่มีการทำเหมืองแร่ชนิดนี้อยู่แล้วอยู่ในภาคอีสาน

ปัจจุบันมีการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) จนสามารถนำผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจากจีนซึ่งเป็นผู้เล่นรายสำคัญในอุตสาหกรรมนี้ให้เข้ามาลงทุนตาม นิคมอุตสาหกรรม มาตรการการสนับสนุนของรัฐบาล  ในอนาคตโซเดียมจากแร่โพแทชหากมีมากพอที่จะลงทุนในการทำเหมืองแร่ เชื่อว่ากระบวนการในการสกัดแยกแร่จะเกิดขึ้นในประเทศไทยจนสามารถต่อยอดไปจนถึงการลงทุนในการทำ
แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าที่ที่จะทำให้ประเทศไทยกลายเป็นฐานผลิตรถ EV ที่ครบวงจรและสมบูรณ์แบบมากที่สุด อีกทั้งพื้นที่สวนอุตสาหกรรม 304 นั้นมีจุดเด่นทางด้านภูมิศาสตร์ นั่นคือมีแรงงานจากภาคอีสานจำนวนมากเข้ามาทำงาน ซึ่งแรงงานเหล่านี้สามารถรองรับการผลิตในภาคอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ ผนึกกำลังกับสาธารณูปโภคด้านการใช้ไฟได้อย่างไม่จำกัด จึงเอื้อประโยชน์ให้นักลงทุนสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างคล่องตัวมากกว่า 

ที่มาของข้อมูล
  • https://sc.kku.ac.th/news/34330/