CLOSE

โอกาสของประเทศไทยในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ระดับโลก

เนื่องจาก ‘ชิป’ เป็นชิ้นส่วนสำคัญในเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องมือสื่อสาร อุปกรณ์ไอที อุปกรณ์เกม รถยนต์ เครื่องมือแพทย์ หุ่นยนต์เครื่องจักร หรือแม้กระทั่งยุทโธปกรณ์ทางการทหาร จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) หรืออุตสาหกรรมการผลิตชิป จะกลายเป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่หลาย ๆ ประเทศพยายามผลักดันให้มีการผลิตมากขึ้น 

แนวโน้มการลงทุนเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิตเซมิคอนดักเตอร์ ในภูมิภาคเอเชีย
ปัจจุบันอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์มีการกระจายการผลิตอยู่ทั่วโลก แต่ฐานการผลิตหลักอยู่ในทวีปเอเชีย โดยผู้ผลิตเจ้าใหญ่ของโลกคือ ไต้หวัน โดยบริษัท TSMC มีสัดส่วนการผลิตประมาณ 64% นอกจากนั้นยังมีบริษัท UMC, PSMC และ VIS อีกด้วย ซึ่งในปี ค.ศ. 2024 มีการคาดการณ์ว่าเจ้าแห่งอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์จะเพิ่มการลงทุนขึ้นอีก 4.2% ด้วยเงินลงทุนสูงถึง 24,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับประเทศไทยเองก็มีการลงทุนด้านเซมิคอนดักเตอร์เช่นเดียวกัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในส่วนของการประกอบ การทดสอบ และการออกแบบ ดังนั้นจึงทำให้ไทยกลายเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของบริษัทระดับโลก ล่าสุดคือ บริษัทโซนี่ เซมิคอนดักเตอร์ โซลูชั่นส์ (Sony Semiconductor Solutions) ที่ตัดสินใจทุ่มงบประมาณกว่า  1 หมื่นล้านเยน หรือประมาณ 2.5 ล้านบาท เพื่อย้ายฐานการผลิตเซมิคอนดักเตอร์เข้ามาในประเทศไทย

นวัตกรรมและเทคโนโลยีใด ที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์
เนื่องจากเซมิคอนดักเตอร์เป็นอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ทุกประเทศ รวมถึงประเทศไทยต่างเร่งสร้างพัฒนาอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ภายในประเทศ เพื่อสร้างความมั่นคงภายในประเทศและช่วงชิงพื้นที่การส่งออกจากคู่แข่งทางการค้า ซึ่งนอกจากจะมีการกำหนดนโยบายทางการค้าเพื่อให้ตัวเองได้เปรียบและรักษาฐานการผลิตของตัวเองแล้ว การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตก็เป็นเรื่องที่ต้องทำไปพร้อม ๆ กัน ทั้งการพัฒนานวัตกรรมผลิตชิปคุณภาพสูงขนาดเล็กที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาด การสร้าง สวนอุตสาหกรรม ที่มีระบบจัดการสิ่งแวดล้อมที่นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของแต่ละประเทศกำหนดขึ้น หรือการสร้าง นิคมอุตสาหกรรม แบบครบวงจรสำหรับสนับสนุนบริษัทสำหรับสนับสนุนบริษัทขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ให้มีศักยภาพการผลิตชิปคุณภาพสูงมากขึ้น

โอกาสของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ไทย
แม้ว่าประเทศไทยไม่ได้ติดอันดับผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ของโลก แต่ถึงอย่างนั้นก็ต้องยอมรับว่าประเทศไทยมีโอกาสด้วยความพร้อมหลาย ๆ ด้านในการเป็นผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์เพื่อป้อนสู่ห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรม และฐานการผลิตให้กับบริษัทชั้นนำของโลก  ไม่ว่าจะเป็น
  • สวนอุตสาหกรรม ที่มีศักยภาพด้านระบบจัดการน้ำและผลิตกระแสไฟฟ้าที่มีเสถียรภาพ สามารถรองรับการผลิตระดับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างสวนอุตสาหกรรม 304 ที่มาพร้อมกับแนวคิดเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ หรือ Eco Industrial Town สนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดและได้มาตรฐานสิ่งแวดล้อม ISO 14001  
  • ความพร้อมด้านทรัพยากรแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนไทยที่ต้องการสร้างอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ไทย หรือนักลงทุนต่างชาติที่ต้องการขยายฐานการผลิต บอกเลยว่าหมดกังวลเรื่องแรงงานได้เลยหากเลือกประเทศไทย เพราะนอกจากจะมีแรงงานพร้อมเสริมทัพการผลิตกว่า 30 ล้านคน ครบทั้งแรงงานไร้ฝีมือ แรงงานกึ่งมีฝีมือ แรงงานฝีมือ และระดับผู้เชี่ยวชาญ นอกจากนั้นทางภาครัฐเองก็ส่งเสริมพัฒนากำลังคนที่มีศักยภาพในระดับอุดมศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการลงทุนด้านเซมิคอนดักเตอร์ของผู้ประกอบการไทยและนักลงทุนต่างชาติในอนาคตอีกด้วย
  • ทำเล เนื่องจากประเทศไทยจะตั้งอยู่ในภูมิศาสตร์ที่ดี จึงมีโอกาสเกิดภัยธรรมชาติหนักได้น้อยกว่าในหลาย ๆ ประเทศ เช่น พายุเฮอร์ริเคน พายุไต้ฝุ่น ไฟป่า หรือน้ำท่วมใหญ่ เมื่อบวกกับการจัดการภายในนิคมและระบบบรรเทาสาธารณภัยที่มีประสิทธิภาพ จึงมั่นใจได้เลยว่าผลกระทบจากสาธารณภัยน้อยมาก แทบไม่กระทบกับการผลิตซึ่งอ้างอิงได้จากอดีตที่ผ่านมา
  • สิทธิประโยชน์จากการลงทุน เพื่อส่งเสริมการลงทุนการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศไทย ทางรัฐบาลจึงได้กำหนดสิทธิประโยชน์ด้านภาษีให้กับผู้ลงทุน อย่างการขยายเวลายกเว้นภาษีให้กับบริษัทต้นน้ำซัพพลายเชนเซมิคอนดักเตอร์จาก 8 ปี เป็น 13 ปี ในขณะเดียวกันก็พยายามดึงนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนด้านเซมิคอนดักเตอร์ในไทย โดยการให้นักลงทุนสามารถเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินในเขตพื้นที่อุตสาหกรรมได้
จากข้อมูลจะเห็นได้ว่าประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่มีศักยภาพรองรับการเติบโตของธุรกิจอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ โดยหนึ่งใน นิคมอุตสาหกรรม ที่ถือว่าตอบโจทย์อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ได้เป็นอย่างดีคือ  สวนอุตสาหกรรม 304 เพราะนอกจากมีโครงสร้างพื้นฐานและระบบการจัดการน้ำผลิตไฟฟ้าระบบที่ได้มาตรฐานแล้ว ยังมาพร้อมบริการ One Stop Service จากทีมงานมืออาชีพที่ทำหน้าที่ให้คำแนะนำและเคียงข้างนักลงทุนในทุกขั้นตอน ทั้งการขออนุญาตดำเนินธุรกิจจาก BOI หรือสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน การขอถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินสำหรับนักลงทุนต่างชาติ และขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรม โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการให้แก่ลูกค้าอุตสาหกรรม ช่วยให้อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศไทยเดินหน้าได้อย่างไม่มีสะดุด

ที่มาข้อมูล