หากพูดถึงมาตรการ CBAM หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism คนทั่วไปอาจไม่คุ้นหู แต่สำหรับผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมบอกเลยว่าไม่รู้จักคำนี้ไม่ได้ เพราะ CBAM คือมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป โดยมีการกำหนดราคาสินค้าบางประเภทเพื่อป้องกันไม่ให้สินค้าที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเข้าสู่ประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป ซึ่งถึงแม้ว่าปัจจุบันจะอยู่ในช่วงเฟสแรก (1 ตุลาคม ค.ศ. 2023 ถึง 31 ธันวาคม ค.ศ.2025 ) ของการประกาศใช้มาตรการ ผู้ประกอบการและ นิคมอุตสาหกรรม ไทย มีความจำเป็นต้องรีบปรับตัวและวางนโยบายด้านต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของมาตรการ CBAM เนื่องจากส่งผลต่อการส่งออกสินค้าไปยังสหภาพยุโรปโดยตรง
ข้อกำหนด CBAM ของสหภาพยุโรป
มาตรการ CBAM เป็นหนึ่งในมาตรการภายใต้ Fit For 55 ที่สหภาพยุโรปประกาศใช้ภายใต้นโยบาย The European Green deal หรือการปฏิรูปสีเขียว มีจุดประสงค์เพื่อเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจก (GHGs) 50 – 55 เปอร์เซ็นต์ ให้ได้ในปี ค.ศ. 2030 และนำไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์หรือ Net Zero Emission ปี ค.ศ. 2050 อย่างไรก็ตามปัจจุบันมาตรการ CBAM ยังอยู่ในบังคับใช้ช่วงแรกหรือช่วงเปลี่ยนผ่าน (Transitional Period) ซึ่งผู้นำเข้าต้องรายงานข้อมูลคาร์บอนในกระบวนการผลิตต่อหน่วยงานประสานงานกลางของ CBAM ถ้าไม่ปฏิบัติตามจะมีการกำหนดโทษปรับที่ 10 – 50 ยูโรต่อตันคาร์บอน เมื่อเข้าสู่ปี ค.ศ. 2026 จะมีการบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบ โดยนอกจากจะมีการเพิ่มชนิดของสินค้าควบคุมแล้ว ผู้นำเข้าต้องรายงานปริมาณคาร์บอนและได้รับการรับรองความถูกต้องจากผู้ทวนสอบที่ขึ้นทะเบียนกับคณะกรรมการ CBAM นอกจากนั้นยังต้องซื้อ CBAM Certificate หรือหลักฐานการชำระค่าคาร์บอน เพิ่มเติมภายในวันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี หากมีการปล่อยคาร์บอนเกินค่า Benchmark ที่สหภาพยุโรปกำหนด
แนวทางการรับมือข้อกำหนด CBAM ของผู้ประกอบการไทย
จากข้อกำหนดของมาตรการ CBAM ปฏิเสธไม่ได้ว่าส่งผลโดยตรงกับผู้ประกอบการไทยและ นิคมอุตสาหกรรม ที่ผลิตสินค้าส่งออกสินค้าไปยังสหภาพ ด้วยทางด้านผู้นำเข้าต้องถามหา CBAM Certificate จากผู้ประกอบการ เพื่อนำไปแสดงต่อคณะกรรมการ CBAM เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการไทยจึงต้องเตรียมพร้อมรับมือกับนโยบายนี้ก่อนจะมีการประกาศใช้เต็มรูปแบบในปี ค.ศ. 2026 ดังนี้
- เตรียมความพร้อมเรื่องการเปิดเผยข้อมูลคาร์บอนในกระบวนการผลิต
เพื่อให้บริหารจัดการสอดคล้องกับมาตรการ CBAM ทางภาครัฐได้มีการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเตรียมความพร้อมเรื่องการเปิดเผยข้อมูลคาร์บอนในกระบวนการผลิต เช่น การเตรียมฉลากคาร์บอนฟุตพรินต์ของผลิตภัณฑ์ ฉลากลดคาร์บอนฟุตพรินต์ของผลิตภัณฑ์ การเข้าร่วมนโยบายนำร่องการซื้อขายสิทธิ์การปล่อยคาร์บอนด้วยความสมัครใจ หรือเลือกตั้งโรงงานใน สวนอุตสาหกรรม ที่มีการบริหารจัดการด้านพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเป็นต้น
- ติดตามข่าวสารนโยบายเกี่ยวข้อง
เนื่องด้วยมาตรการ CBAM ยังคงอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องติดตามสถานการณ์จากสหภาพยุโรป อีกทั้งควรเข้าร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการต่อรองในอนาคต
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบในเฟสแรก
สำหรับมาตรการ CBAM ในเฟสแรกได้กำหนดให้ผู้นำเข้าสินค้าจำนวน 7 ประเภท ได้แก่
1. เหล็กและเหล็กกล้า
2. อะลูมิเนียม
3. ซีเมนต์
4. ปุ๋ย
5. ไฟฟ้า
6. ไฮโดรเจน
7. และผลิตภัณฑ์ปลายน้ำอื่น ๆ ของกลุ่มสินค้าที่กำหนด
ซึ่งจากข้อมูลประเทศไทยส่งออกสินค้าทั้ง 7 กลุ่มนี้สูงถึง 28,573 ล้านบาทต่อปี แต่การประกาศใช้มาตรการ CBAM อาจส่งผลให้การส่งออกลดลงหากไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดได้ เพราะผู้นำเข้าจะมีการนำเข้าสินค้าลดลงหรือหันไปใช้สินค้าที่ผลิตในสหภาพยุโรปเพื่อลดต้นทุนแทน
แม้ว่ามาตรการ CBAM จากสหภาพยุโรป จะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจไทย แต่ถึงอย่างนั้นก็เป็นนโยบายที่ดีในการผลักดันให้ผู้ประกอบการตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมมากขึ้น สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นกังวลเกี่ยวกับมาตรการ CBAM แนะนำให้เริ่มต้นจากการเลือกจัดโรงงานที่ สวนอุตสาหกรรม 304 ที่มีการพัฒนาด้าน Renewable Energy อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น โรงไฟฟ้า NPS ที่มีระบบจัดการไฟฟ้าให้กับใน สวนอุตสาหกรรม อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างเช่น biomass ที่มีกำลังการผลิตรวม 398 MW อีกทั้งยังมี Solar Floating ที่มีกำลังการผลิตรวม 150 MW ทำให้มั่นใจได้ว่าสามารถผลิตและส่งมอบพลังงานสะอาดและสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อมตามเป้าหมายของมาตรการ CBAM จากสหภาพยุโรปจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
ที่มาข้อมูล